ที่มีภูมิประเทศสวยงาม และความเจริญทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ศูนย์รวมแหล่งวัฒนธรรม อุตสาหกรรม
และการศึกษา เป็นดินแดนที่มีการผสมผสานของวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติต่าง
วัฒนธรรม พร้อมทั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยพื้นที่ของประเทศ ประกอบไปด้วย 2 เกาะขนาดใหญ่ คือ
เกาะใหญ่ (The Great Britain) ซึ่งหมายถึงเกาะใหญ่ของอังกฤษ ที่รวมอาณาเขตของอังกฤษ (England)
เวลส์ (Wales)และสก็อตแลนด์(Scotland) ไว้ด้วยกันและเกาะไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland)
พื้นที่โดยรวมของประเทศประมาณ 240,000 ตารางกิโลเมตรโดยมีกรุงลอนดอน (London)
เป็นเมืองหลวงของประเทศ
2. สภาพภูมิอากาศภูมิประเทศของเกรท บริเทน (Great Britain) เป็นประเทศที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงมาก
จัดอยู่ในประเภทค่อนข้างหนาว มีความชื้นสูง เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะ มีกระแสน้ำอุ่นและน้ำเย็น
ไหลผ่าน ทำให้เกิดหมอกหนาแน่นปกคลุมในบางครั้ง อากาศทางตอนเหนือจะสูงกว่าอากาศทางตอนใต้
และจะมีฝนตกทางภาคตะวันตกมากกว่าทางภาคตะวันออก อุณหภูมิโดยเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม
ประมาณ 5 องศาเซลเซียสและสูงสุดในเดือนกรกฎาคม ประมาณ 18 องศาเซลเซียส
3. ฤดูกาล มีทั้งหมด 4 ฤดู คือ
- ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) เดือนมีนาคม-พฤษภาคมอากาศจะเปลี่ยนแปลงบ่อยมาก บางวันอากาศอบอุ่น มีแสงแดดจัดใน ตอนเช้า และเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เป็นหนาวเย็นหรือ ฝนตกในช่วงบ่าย
- ฤดูร้อน (Summer) เดือนมิถุนายน-สิงหาคมอากาศ ส่วนใหญ่จะอบอุ่นและแสงแดดจัดจ้า
- ฤดูใบไม้ร่วง (Autumn) เดือนกันยายน-พฤศจิกายน อากาศจะเย็นขึ้นเรื่อย ๆใบไม้เริ่มเปลี่ยนสีสวยงามและร่วงหล่น
- ฤดูหนาว (Winter) เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์อากาศช่วงนี้ จะหนาวมากที่สุด มีหิมะตกในบางพื้นที่กลางคืนจะยาวกว่า กลางวันและมืดเร็วกว่าปกติ
4. เวลา
ประเทศอังกฤษมีเวลาช้ากว่าประเทศไทยประมาณ 6 ชั่วโมง ในช่วงปลายเดือนมีนาคม – ปลายเดือนตุลาคม และช้ากว่าประเทศไทย 7 ชั่วโมง ในช่วงปลายเดือนตุลาคม – ปลายเดือนมีนาคม
5. ไฟฟ้า
ระบบไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศ คือ ระบบ 240 V. AC 50 Hz เหมือนในประเทศไทย แต่จะใช้ปลั๊กไฟ 3 ขา ซึ่งต่างจากบ้านเรา หากต้องการนำอุปกรณ์ไฟฟ้าไปด้วย ควรจะเตรียมปลั๊กไฟฟ้า 3 ขา ดังในรูปภาพไปด้วย โดยแนะนำให้นำปลั๊กสามตาไปด้วยเพื่อต่อพ่วงเพื่อที่จะสามารถใช้ชารจ์ไฟฟ้าได้หลายอย่างในครั้งเดียวกัน
6.น้ำประปา
การประปาของสหราชอาชอาณาจักรมีระบบการทำน้ำประปาที่สะอาดมาก ซึ่งเราสามารถดื่มน้ำจากก๊อกน้ำตามบ้านหรือสาธารณะโดยไม่ต้องผ่านการกรองได้ โดยนักเรียนสามารถดื่มได้เฉพาะน้ำเย็นเท่านั้น ส่วนน้ำร้อนนั้นไม่ควรดื่ม เพราะมีการเติมสารเคมี
7. ระบบเงินตรา
สหราชอาณาจักรใช้สกุลเงิน ปอนด์(Pound) เป็นหน่วยเงินประจำประเทศ สกุลเงินแบ่งออกเป็นธนบัตรทั้งหมด 4 ชนิด คือ ธนบัตรใบละ 5,10, 20 และ 50 ส่วนเหรียญแบ่งออกเป็น 8 ชนิด คือ 2 และ 1 ปอนด์ และ 50, 20, 10, 5, 2 และ 1 เพนนี นักเรียนสามารถแลกเงินได้ที่ธนาคารทั่วไปหรือสถานที่รับแลกเงินที่เรียกว่า bureau de change เช่น Thomas Cook, American Express, Chequepointและ Exchange International นอกจากนั้นในห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ เช่น แฮร์รอดส์ หรือมาร์คแอนด์สเปนเซอร์ จะมีเคาน์เตอร์แลกเงินด้วย โดยควรสอบถามอัตราแลกเงินจากธนาคารต่างๆ เพื่อให้ได้อัตราที่ดีที่สุด เวลาทำการของธนาคารคือ ตั้งแต่วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9.30 – 15.30 น. มีบางแห่งที่ปิดเวลา 17.00 น. เช่น บางสาขาของธนาคาร Bank of Scotland และบางแห่งเปิดทำการในวันเสาร์ด้วยตั้งแต่เวลา 9.30 – 12.00 น. คือ Nat West
8. การติดต่อสื่อสาร
ที่ทำการไปรษณีย์ เวลาทำการมักเปิดตั้งแต่วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9.00 – 17.30 น. และในวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น. แต่ที่ทำการที่ Trafalgar Square เลขที่ 24 William IV Street, WC2 ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของ Trafalgar Square เปิดทำการตั้งแต่วันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 8.00 – 20.00น. ที่ทำการไปรษณีย์แห่งนี้ สามารถหาซื้อแสตมป์สะสมที่จัดทำขึ้นตามเทศกาลต่างๆ เช่น ช่วงคริสต์มาสได้
แสตมป์ทั่วไปสามารถหาซื้อได้ตามที่ทำการไปรษณีย์และร้านขายหนังสือพิมพ์ จดหมายในประเทศติดแสตมป์ 32 เพนซ์จะส่งถึงวันรุ่งขึ้น ถ้าต้องการส่งกลับมาประเทศไทย 67 เพนซ์สำหรับจดหมาย (ราคาต่ำสุด)
ราคาและรายละเอียดอื่น ๆ สามารถหาได้จาก http://www.royalmail.com/portal/rm
ตู้ไปรษณีย์สีแดงแบบเก่ามีตั้งอยู่ริมถนนทั่วไป ส่วนตู้แบบใหม่สีแดงเหมือนกันแต่ขนาดเล็กกว่าจะอยู่กับผนังตึก
โทรศัพท์
- อัตราค่าโทรศัพท์ขึ้นอยู่กับระยะทางและระยะเวลาที่ใช้ การโทรศัพท์ออกนอกประเทศ ช่วงระยะเวลาที่ ประหยัดคือตั้งแต่เวลา 18.00 - 08.00 น. สอบถามค่าบริการอีกครั้งด้วยการหมุนไปที่หมายเลข 155 หากโทรศัพท์โดยผ่านโอเปอเรเตอร์ต้องเสียค่าบริการมากกว่าโทรโดยตรง
- หากจะโทรศัพท์มาประเทศไทยด้วยโทรศัพท์สาธารณะต้องหมุน : 00+66+รหัสเมือง+หมายเลขที่ต้องการ เช่น โทรมาที่กรุงเทพฯ หมายเลข 02-2612500 ต้องหมุน 00-66-2-2612500 เป็นต้น
- เบอร์โทรศัพท์ที่ผ่านโอเปอเรเตอร์ไทยเพื่อเรียกเก็บเงินปลายทางคือ 0800 89 0066 สำหรับผู้ที่ มีความประสงค์จะโทรศัพท์จากประเทศไทยไปลอนดอน สามารถทำได้โดยกดรหัส 001 44 20 หรือ 001 44 181
ระบบ การศึกษาในเครือจักรภพอังกฤษ
แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา และระดับปริญญา การศึกษาภาคบังคับเริ่มตั้งแต่อายุ 5 ปีถึง16 ปี เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ จะเรียนในโรงเรียนรัฐบาล สำหรับนักเรียนไทยที่จะไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ นักเรียนจะมีสิทธิเลือกเข้าเรียนในโรงเรียนของเอกชนเท่านั้น
ปีการศึกษา
- ภาคต้น (Autumn Term) เริ่มปลายเดือนกันยายนถึงกลางเดือนธันวาคม
- ภาคกลาง (Spring Term) เริ่มกลางเดือนมกราคมถึงปลายเดือนมีนาคม
- ภาคปลาย (Summer Term) เริ่มปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม
ระดับประถมศึกษา ( Preparatory School )
รับนักเรียนอายุ 5-13 ปี โดยการเรียนการสอนจะเน้นให้เด็ก มีทักษะในการเขียน และทักษะด้านตัวเลข เพื่อพัฒนาเด็กให้มีความรู้ ความสามารถตามวัย
- ระดับเตรียมประถมศึกษา (Pre - Preparatory School) รับนักเรียนอายุตั้งแต่ 5 -7 ปี
- ระดับประถมศึกษา (Preparatory School) รับนักเรียนอายุตั้งแต่ 8 -13 ปี
รับนักเรียนอายุ 13 ปีขึ้นไป และเรียน ได้จนถึงอายุ 18 - 19 ปี รวมระยะเวลาศึกษา 5 ปี เรียกว่า year 9 - year 13 หรือ Form 3 - Form 6 (สำหรับโรงเรียนที่เรียกระดับชั้นเป็น Form) แต่สำหรับนักเรียนชาวต่างชาติจะมีสิทธิ์เรียนต่อที่ (Independent School) โรงเรียนมัธยมของเอกชนเท่านั้น นักเรียนทุกคนจะต้องทำการสอบวัดผลความรู้ และความสามารถเพื่อจะนำไปใช้ในการ สมัครเข้าในระดับอุดมศึกษาต่อไป ทั้งนี้ทางกระทรวงศึกษาธิการ และวิทยาศาสตร์ของอังกฤษเป็นผู้กำหนด โดยการสอบจะจัดโดยคณะกรรมาธิการอิสระซึ่งมี 5 คณะ โดยการสอบจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. GCSE (General Certificate of Secondary Education) การสอบระดับนี้ จะสอบเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 16 ปีขึ้นไป นักเรียนเลือกสอบประมาณ 6-10 วิชา เช่น วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาต่างประเทศ ศิลป ฯลฯ และผลการสอบจะแบ่งเป็น 7 ระดับ คือ Grade A, B, C, D, E, F, G ผู้ที่สอบได้ Grade C ขึ้นไปจึงจะถือว่าสอบผ่าน นักเรียนที่สอบ GCSE ได้แล้ว (อย่างน้อย 5 วิชา) หากจะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา จะต้องศึกษาต่ออีกประมาณ 2 ปี ในระดับ A Level (Advanced Level) หรือ ระดับ The International Baccalaureate (IB) Diploma
2.1 GCE A Level (GCE Advanced) หรือที่รู้จักกันในนาม Sixth Form Colleges โดยใช้ระยะเวลา 2ปีและมีการสอบปลายปีในแต่ละปีการศึกษา A Level เป็นการสอบเพื่อวัดความสามารถทางวิชาการของเด็ก ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป มีวิชาให้เลือก 50 กว่าวิชา ส่วนใหญ่นักศึกษาในระดับ A Level จะลงเรียนเพียง 2-4 วิชา เพื่อที่จะได้ศึกษาแต่ละวิชาอย่างลึกซึ้ง วิชาที่นักศึกษาเลือกเรียนมักจะเกี่ยวข้องกับหลักสูตรหรือสาขาที่ต้องการ ศึกษาต่อ ในระดับปริญญาตรี
ผลการสอบ A Level มี 5 ระดับ คือ A, B, C, D, E แต่ Grade ที่ได้ทั้ง 5 ถือว่าสอบผ่านทั้งหมด มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่พิจารณารับผู้มีผลการสอบในระดับ C ขึ้นไป บางแห่งอาจรับเฉพาะผู้ที่ได้คะแนนระดับ A และ B
2.2 IB The International Baccalaureate (IB) Diploma เป็นประกาศนียบัติทางด้านวิชาการระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอายุระหว่าง 16 ถึง19 ปี ให้มีความพร้อมในการเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย ในทุกประเทศ หลักสูตรดังกล่าวเป็นหลักสูตรเข้มข้นโดยใช้เวลาเรียน 2 ปี หลักสูตรของ International Baccalaureate จะประกอบไปด้วยหกวิชาหลักๆ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาที่สอง(อาจจะเลือกเป็นภาษาของตนเองก็ได้) วิทยาศาสตร์เชิงการทดลอง ศิลปะ เลข และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้นักเรียนจะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมอาสาพัฒนาชุมชน กิจกรรมกีฬา และงานสร้างสรรค์ทางศิลปะอีกด้วย แก่นของหลักสูตรนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3องค์ประกอบใหญ่ๆ ได้แก่
- การเขียนเรียงความอย่างมีประสิทธิภาพ - จะมีการสอนเขียนเรียงความมากถึง 4,000คำต่อหนึ่งเรื่อง ในหัวข้อที่นักเรียนสนใจ
- ทฤษฎีการเรียนรู้ - อีเอฟได้บรรจุและประยุกต์ใช้ปรัชญาความเข้าใจ และธรรมชาติการเรียนรู้ของนักเรียน เข้าไปในหลักสูตรและบทเรียนด้วย
- ความคิดสร้างสรรค์ การลงมือทำ และการให้บริการ - ได้ถูกบรรจุอยู่ในชั้นเรียนต่างๆในหลักสูตร อาทิเช่น ศิลปะ กีฬา และอาสาพัฒนาชุมชน
นักเรียนจะเลือกเรียนหนึ่งวิชาจากแต่ละกลุ่มวิชา รวมเป็น 6 วิชา โดยปกติ 3 วิชาจะอยู่ในระดับชั้นที่สูงกว่าอีก 3 วิชาซึ่งจะเรียนในระดับมาตรฐาน หลักการเรียนรู้ทั้ง 3 ส่วนเป็นภาคบังคับของหลักสูตร และเป็นหลักปรัชญาของหลักสูตรนี้
ระดับอาชีวศึกษา (Further Education)
เป็นการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ซึ่งไม่ประสงค์จะศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา หรือผู้ที่ไม่มีคุณวุฒิ GCSE แต่ประสงค์จะมีคุณวุฒิทางวิชาชีพต่างๆ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ คุณวุฒิวิชาชีพ สถาบันการศึกษาด้านอาชีวศึกษานี้ มีทั้งของรัฐบาลและของเอกชน
สถาบันการศึกษาของรัฐบาล
มีประมาณ 500 แห่ง เปิดสอนหลักสูตรต่างๆ ได้แก่ บริหารธุรกิจ การโรงแรม การเกษตร วิศวกรรม ช่างเทคนิค ฯลฯ
- Higher National Certificate/Diploma (HNC/HND)
เป็นการศึกษาในระดับสูงสุดของระดับอาชีวศึกษา หลักสูตร 2 ปี ซึ่งถือว่าระดับนี้เป็นการศึกษาในระดับอุดมศึกษา (Higher Education) ด้วยเช่นกัน ผู้ที่จบหลักสูตรนี้ถือว่า ได้มีคุณวุฒิสูงกว่าอนุปริญญาของไทย แต่ต่ำกว่าปริญญาตรี 1 ชั้น นอกจากนี้หากประสงค์จะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีก็สามารถทำได้โดยใช้เวลา ศึกษาอีก 2 ปี แต่ทั้งนี้ผลการเรียนต้องอยู่ในระดับดี
- National Vocational Qualification (NVQ)
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรสายอาชีพ เป็นการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติร่วมกัน แต่จะเน้นภาคปฏิบัติเพื่อให้นักเรียนได้รับการฝึกฝนและมีความพร้อมก่อนที่จะ ออกไปประกอบอาชีพจริง
สถาบันอาชีวศึกษาของเอกชน
ควรเลือกสถานศึกษาเอกชนที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะจาก The British Accredition council for Further and Higher Education (BAC) ซึ่งเป็นหลักประกันว่าเป็นสถาบันที่มีการเรียนการสอนที่เชื่อถือได้ สำหรับวุฒิการศึกษาที่ได้รับ จะได้เพียงประกาศนียบัตรเท่านั้นและยังมีหลักสูตร Foundation degrees เป็นหลักสูตรการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อเตรียมความรู้ในการเรียนต่อระดับปริญญา ตรี หลักสูตรนี้จะใช้เวลาเรียน 1 ปี
ระดับอุดมศึกษา (Higher Education)
การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยปัจจุบันมหาวิทยาลัยของสหราชอาณาจักรมีประมาณ 96 แห่ง เป็นของรัฐบาลเกือบทั้งหมด ยกเว้น University of Buckingham ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเพียงแห่งเดียวการศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
Undergraduate
- BTEC HNC/HND หรือ Diploma of Higher Education (Dip. HE)
เป็นหลักสูตร 2 ปี ส่วนใหญ่จะเปิดสอนอยู่ใน College of Higher Education โดยมหาวิทยาลัยบางแห่ง รับเปิดรับผู้สอบ "A" Level อย่างน้อย 1 วิชา หรือสำเร็จการศึกษาระดับ National Diploma การสมัครเข้าศึกษาต่อนั้นต้องสมัครผ่าน UCAS เช่นเดียวกับในระดับปริญญาตรี - First Degree (Bachelor Degree)
เป็นหลักสูตรการศึกษา 3 ปี ยกเว้นบางสาขาวิชา เช่น วิศวกรรมศาสตร์ (4 ปี) สถาปัตยกรรมศาสตร์ (5 ปี) ทันตแพทย์ (5 ปี) สัตวแพทย์ (5 ปี) แพทย์ (6 ปี)
Post - Graduate
- Post - Graduate Certificate Diploma
หลักสูตรการศึกษา 9 เดือนถึง 1 ปี รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีเข้าศึกษาต่อ - Master Degree
หลักสูตรการศึกษา 1-2 ปี รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีผลการเรียนดี - Doctoral Degree
หลักสูตรการทำวิจัย ใช้เวลาในการศึกษา 3 ปี มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร M. Phil
ค่าครองชีพที่ต้องเตรียมในการเรียนต่อประเทศอังกฤษนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้ชีวิตของนักเรียนแต่ละคน แต่โดยทั่วไปแล้ว การใช้ชีวิตในลอนดอนจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าเมืองอื่นๆ ดังนี้
ลอนดอน - ประมาณ 1020 ปอนด์/เดือน
เมืองอื่นๆ - ประมาณ 820 ปอนด์/เดือน
การขอวีซ่าประเทศอังกฤษ
(เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้ทางสถานทูตอังกฤษได้หยุดพิจารณาวีซ่าที่ยื่นไปก่อนรอจนสถานการณืดีขึ้น)
สำหรับนักเรียนผู้สมัครสามารถยื่นคำร้องขอวีซ่าล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนวันเริ่มเรียน ระยะเวลาในการพิจารณาคำร้องขอวีซ่า ประมาณ 15 วันทำการ
วีซ่าของประเทศอังกฤษมี3 ประเภทคือ
1.ไปเรียนไม่เกิน 6 เดือน เป็น ประเภท Study short term visitor 6 months จะได้วีซ่า 6 เดือน ค่าธรรมเนียมวีซ่า 4,800บ.
2.ไปเรียน เกิน 6 เดือน คือ 7-11 เดือน เป็นประเภท Study english language 11 months ได้วีซ่า11 เดือน ค่าธรรมเนียมวีซ่า 260 usd หรือ 9,000 บ.และมีค่าประกันสุขภาพ 210 usd หรือ 6,000 บาท
3.ไปเรียนอนุปริญญา/ปริญญาตรี โท เอก ได้วีซ่าระยะยาว Study permit ได้วีซ่าตามระยะเวลาที่ไปเรียนสามารถต่อวีซ่าได้ และทำงานพาร์ททามได้ ค่าธรรมเนียมวีซ่า 20,000 บ.
ขั้นตอนการขอวีซ่า
1.กรณีไปเรียนระยะเวลาเกิน 6 เดือน ไปตรวจเอกซเรย์ปอดที่ศูนย์ IOM นัดคิวออนไลน์ตรวจล่วงหน้า 1-3 เดือน ก่อนยื่นวีซ่า ที่อาคารเกษมกิจ ชั้น 8 ถ.สีลม (ตรงข้ามอาคาร CP Tower)
2.ดำเนินการสมัครเรียน ชำระค่าเล่าเรียนทั้งหมดพร้อมค่าธรรมเนียมวีซ่า เพื่อขอเอกสารตอบรับสถาบัน จากสถาบันที่สมัครเรียน
3.เตรียมเอกสารประกอบการยื่นวีซ่า กรอกแบบฟอร์มขอวีซ่า
4.ดำเนินการกรอกคำร้องขอยื่นวีซ่าออนไลน์ จ่ายค่าธรรมเนียมออนไลน์และนัดหมายยื่นวีซ่า(บริการโดย ISC)
5.ผู้สมัครมารับเอกสารและนำไปยื่นด้วยตัวเองที่ ศูนย์รับยื่น VFS อาคารเทรนดี้ ชั้น 28 สุขุมวิทซอย 13 นานา (เพื่อถ่ายรูปพร้อมสแกนนิ้วมือผู้มัคร)
6.ทางสถานทูตจะแจ้งให้มารับผลการพิจารณาวีซ่า 15 วันทำการ (ทาง E-mail / SMS ของผู้สมัคร )
เอกสารประกอบการยื่นขอวีซ่า
1. แบบฟอร์มคำร้องขอยื่นวีซ่าออนไลน์ พิมพ์ออกมาลงลายมือชื่อผู้สมัคร
2. ใบนัดหมายยื่นวีซ่า
3. เล่มพาสปอร์ตตัวจริงที่มีอายุใช้งานเกิน 6 เดือน และพาสปอร์ตเล่มเก่าทุกเล่มที่มี พร้อมสำเนาพาสปอร์ต
4. รูปถ่าย ไม่ต้องใช้ไปถ่ายจริงที่ศูนย์ยื่น
5. สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน และสำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
6. เอกสารตอบรับจากสถาบันที่สมัครเรียน Confirmation of Acceptance for studies (CAS) หรือ Visa letter
7. หลักฐานการเรียนและหนังสือรับรองจบการศึกษา : Transcript ปีการศึกษาล่าสุดฉบับจริงพร้อมสำเนา
8. หนังสือรับรองการทำงานตัวจริง ของผู้สมัคร (ถ้ามี) และ Sponsor ผู้รับรองค่าใช้จ่ายในการเรียนทั้งหมด
9. หลักฐานการเงิน ของผู้สมัคร (ถ้ามี) และ Sponsor ผู้รับรองค่าใช้จ่ายในการเรียนทั้งหมด
- หนังสือรับรองสถานะทางการเงินจากทางธนาคารเป็นภาษาอังกฤษ ระบุแปลงค่าเงิน เป็นสกุลเงินปอนด์ (GBP)
- สเตทเม้นท์ ย้อนหลัง 6 เดือน หรือ สมุดบัญชีตัวจริง ปรับสมุดบัญชีเป็นยอดเงิน ณ ปัจจุบัน
10. สำหรับนักเรียนอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องมีใบรับรองยินยอมให้ออกนอกประเทศของบิดา-มารดา เซ็นต์
11. ใบรับรองการปลอดเชื้อวัณโรค (TB) : ผลตรวจ (IOM)
12. ค่าธรรมเนียมวีซ่าชำระผ่านระบบออนไลน์ พิมพ์หลักฐานการชำระเงินจากระบบ
*** หากถูกปฏิเสธวีซ่า สถานทูตจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมวีซ่าที่ชำระแล้ว ไม่ว่าในกรณีใดๆ ทั้งสิ้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในวันสมัครอีกครั้ง