ประเทศนิวซีแลนด์ อยู่บริเวณ ตอนใต้ของเส้นศูนย์สูตร ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแปซิฟิค ทางด้านตะวันออก และทะเลทัสมัน ทางด้านตะวันตก นิวซีแลนด์ มีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นหมู่เกาะ ประกอบด้วย เกาะใหญ่ 2 เกาะ คือ เกาะเหนือ (North Island) และ เกาะใต้ (South Island) และเกาะเล็ก เกาะน้อย อีกจำนวนหนึ่ง นิวซีแลนด์มีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 268,000 ตารางกิโลเมตร ขนาดจะ ใกล้เคียงกับประเทศอังกฤษ ลักษณะเกาะมีรูปร่างยาว ที่ประกอบไปด้วยชายหาด มากมาย และทะเลเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ฟยอร์ด (Fjord) บางส่วนเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ใช้เพาะปลูกและ เลี้ยงสัตว์ มีบ่อน้ำร้อน ภูเขาไฟที่ดับแล้ว และยังไม่ดับ บ่อโคลนเดือด บริเวณเทือกเขา สูงมีหิมะ ขาวปกคลุม พื้นที่ส่วนใหญ่ของนิวซีแลนด์ มีภูมิประเทศที่มีความหลากหลาย และสวยงาม
เกาะและเมืองที่สำคัญ ของ นิวซีแลนด์
เกาะเหนือ (North Island)
โอ๊คแลนด์ (Auckland)
เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในนิวซีแลนด์ มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน ตั้งอยู่ระหว่างอ่าวไวเตมาตา และอ่าวมานูเกา เป็นศูนย์กลางธุรกิจและอุตสาหกรรม ของประเทศ เนื่องจากเป็นเมืองท่าที่สำคัญและเป็นเมืองแห่งการเล่นเรือใบ มีแม่น้ำไวกาโต ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาว ที่สุดในนิวซีแลนด์ไหลผ่าน เป็นเมืองที่เหมาะแก่การเรียน มีโรงเรียน และ มหาวิทยาลัยชื่อดังหลายแห่ง ใน โอ๊คแลนด์โอ๊คแลนด์
สถานที่ท่องเที่ยว ที่น่าสนใจ โอ๊คแลนด์ เช่น
Auckland's Sky Tower Mount Eden Kelly Tarlton's
Auckland Museum National Maritime Museum Auckland Zoo
Auckland Regional Botanical Garden Victoria Park Market
เวลลิงตัน (Wellington)
เมืองหลวงของนิวซีแลนด์ คือ เวลลิงตัน ตั้งอยู่บริเวณตอนปลายสุดของ เกาะเหนือ ซึ่งจะเป็นแหล่งที่ตั้งของที่ทำการรัฐบาลและเมืองนี้ได้รับสมญาว่าเป็น Windy city เวลลิงตันเป็นเมืองท่าที่เชื่อมระหว่าง เกาะเหนือ และเกาะใต้ ที่มีช่องแคบคุก (cook) คั่นกลาง ทำให้เกิดกระแสลมแรง เป็นแหล่งรวมสถานที่สำคัญ ผ่อนคลายกับบรรยากาศที่ไม่เร่งรีบ ตั้งอยู่บนอ่าวของทางตอนใต้สุดของเกาะเหนือ มีความสำคัญในด้านการปกครอง และเป็นจุดเชื่อมระหว่างเกาะเหนือและเกาะใต้
แหล่งท่องเที่ยว ที่น่าสนใจ อาทิ เช่น
Wellington Zoo Te Papa National Opera Wellington Botanic
National Art Gallery, National Library,Gardens National War Memorial
โรโตรัว (Rotorua)
โรโตรัว เป็นเมืองของนิวซีแลนด์ที่เรียกได้ว่า “เมืองแห่งสปาและการท่องเที่ยว” เนื่องจาก เมืองนี้อุดมไปด้วย แหล่งกำเนิดของน้ำพุร้อน ป่า ทุ่งหญ้าและทะเลสาบ อุดมสมบูรณ์ ด้วยปลาเทราต์ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองโบราณที่สั่งสมวัฒนธรรมของชาวเมารี ทำให้เมือง นี้เต็มไป ด้วยความสนุกสนาน สำหรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชม
แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของเมืองโรโตรัวอาทิเช่น
Te Whakarewarewa Polynesian Lake Rotorua Rainbow Spring Farm, Ohinemutu, Waikite Valley Thermal Pool Skyline Skyride Whirinaki Forest Park=
เกาะใต้ (South Island)
ไคร้สท์เชิร์ช (Christchurch)
เป็นเมืองเก่าแก่และ ใหญ่ที่สุดทางเกาะใต้ของนิวซีแลนด์ เป็นเมืองที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศอังกฤษอย่างแท้จริง มีสวนดอกไม้สวยงาม มีแม่น้ำเอวอนไหลผ่านกลางเมืองและประกอบด้วยสถาปัตยกรรมในรูปแบบของอังกฤษยุคบุกเบิก ไคร้สท์เชิร์ชถูกขนานนามว่าเป็นเมืองแห่งสวนดอกไม้ตระการตา (Garden City)
แหล่งท่องเที่ยว ที่น่าสนใจของเมืองไคร้สท์เชิร์ชอาทิ เช่น
Cathedral Square Church of England, Botanic Gardens and Hagley Park,
Canterbury Museum, Willowbank Wildlife Reserve,
Southern Encounter Aquarium and Kiwi House,
The Roman Catholic Basilica Christchurch City Art Gallery
ดูนิดิน (Dunedin)
ดะเนดิน หรือ สก๊อตแลนด์แห่งนิวซีแลนด์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ในเขต Otago เป็นที่ตั้ง ของมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของนิวซีแลนด์ คือ University of Otago ปัจจุบันเป็นจุดศูนย์กลางนักท่องเที่ยวทัวร์ธรรมชาติ (Eco-tour) เช่น ทัวร์ดูนกเพนกวิน, ทัวร์ดูแมวน้ำ, และการเดินป่าแบบธรรมชาติ
แหล่งท่องเที่ยว ที่น่าสนใจของเมืองดะเนดินอาทิเช่น
Taieri Gorge Railway, Royal Albatross Centre,
Centre and Westpac Aquarium, Dunedin’s Botanic Gardens
Otago Museum and Discovery World University of Otago
New Zealand Sports Hall of Fame, New Zealand Marine Studies
ประชากร ของนิวซีแลนด์
ชาวนิวซีแลนด์ หรือ ชาวกีวี ปัจจุบันมีประมาณ 3.6 ล้านคน ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวอังกฤษ และประมาณ 151,100 คนเป็นชาวเมารี (Maori) และนอกเหนือจากนั้นยังมีชาวโพลีนีเซียน จีน อินเดีย และผู้อพยพจากหลายเชื้อชาติที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในนิวซีแลนด์
ศาสนา ของ นิวซีแลนด์
ประชากรส่วนใหญ่ของนิวซีแลนด์นับถือศาสนาคริสต ์สำหรับศาสนาอื่น เช่น ยิว อิสลาม ฮินดู พุทธ จะมีสถานที่สำหรับบูชาศาสนาของตนเองตามเมืองใหญ่ คริสต์ นิกาย Anglican, Prebyterian, Roman Catholic, Methodist, Baptist และอื่นๆ
สภาพภูมิอากาศ นิวซีแลนด์
ประกอบด้วย 4 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ โดยทั่วไปอากาศของนิวซีแลนด์จะสบายๆ ค่อนข้างเย็น แต่ไม่ถึงกับเย็นจัดจนหิมะตก เกาะเหนือจะมีอากาศอบอุ่นกว่าเกาะใต้
ฤดู | ช่วงเดือน | เกาะเหนือ | เกาะใต้ |
ฤดูร้อน | ธันวาคม-กุมภาพันธ | 16-25 C | 13-22 C |
ฤดูใบไม้ร่วง | มีนาคม-พฤษภาคม | 13-19 C | 7-17 C |
ฤดูหนาว | มิถุนายน-สิงหาคม | 8-13 C | 2-10 C |
ฤดูใบไม้ผลิ | กันยายน-พฤศจิกายน | 11-17 C | 7-17 C |
เงินตรา ของนิวซีแลนด์
หน่วยเงินตราของประเทศนิวซีแลนด์ คือ NZ$ ดอลล่าห์ ค่าเงินต่าง ๆ แบ่งได้ดังนี้
ธนบัตรนิวซีแลนด์ มีมูลค่า $1, $2, $5, $10, $20, $100
เงินเหรียญที่เป็นเซ็นต์ มีมูลค่า 5 เซ็นต์, 10 เซ็นต์, 20 เซ็นต์, 50 เซ็นต์
เวลาของ นิวซีแลนด์
เวลาของประเทศนิวซีแลนด์ จะเดินเร็วกว่าประเทศไทย 5 ชั่วโมง ยกเว้นช่วงระหว่างตอนต้นเดือนตุลาคม ถึง ต้นเดือนมีนาคม ที่เวลาของนิวซีแลนด์จะเร็วกว่าประเทศไทยเป็น 6 ชั่วโมงเนื่องจากเป็นช่วงเวลา Day Light Saving
ไฟฟ้าของนิวซีแลนด์
ทางประเทศนิวซีแลนด์ ใช้กระแสไฟฟ้า 230 โวลต์ (V) และใช้ปลั๊กไฟแบบสามขา ฉะนั้นอย่าลืมว่า ต้องนำปลั๊กต่อไปด้วย และถ้าหากจะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศไทยต้องใช้ Adapter ในการแปลงกระแสไฟฟ้า ให้เป็นระบบเดียวกับกระแส ไฟฟ้าซึ่งสามารถหาซื้อ Adapter ได้ที่ประเทศไทย
เชื้อชาติ ของ นิวซีแลนด์
ชนผิวขาว นิวซีแลนด์ 75 %
ชาวพื้นเมืองเชื้อสายเมารี10 %
ชนกลุ่มน้อยเชื้อสายชาวเกาะแปซิฟิกใต้ 5 %
ชาวเอเชีย และ ชนชาติอื่นๆ 10 %
วัฒนธรรมและสังคม นิวซีแลนด
นิวซีแลนด์ มีวัฒนธรรม 2 แบบ คือ วัฒนธรรมคนผิวขาว ซึ่งคล้ายคลึงกับคนยุโรปและอเมริกัน และวัฒนธรรมเผ่าเมารี ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษาและเป็นวัฒนธรรมที่มีความเคร่งครัดในเรื่อง ขนบธรรมเนียมพิธีรีตอง
ชาวนิวซีแลนด์โดยทั่วไปเป็นคนอัธยาศัยดี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ และช่วยเหลือผู้เดินทางจาก ต่างประเทศ นอกจากนั้น เป็นคนที่ถือเรื่องการรักษาการนัดหมายอย่างเคร่งครัด การให้ทิปเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นนัก ในประเทศนิวซีแลนด์ บางครั้งบริกรจะปฏิเสธเงินค่าทิป
โรงเรียนมัธยมศึกษา นิวซีแลนด์
นิวซีแลนด์มี โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เป็นประเภทของรัฐบาล กึ่งรัฐบาลและเอกชน โรงเรียนส่วนมากเป็นโรงเรียนสหศึกษาซึ่งรัฐบาล นิวซีแลนด์เป็นผู้สนับสนุนดูแลโดยมีโรงเรียนชายล้วน และหญิงล้วน อยู่ประมาณ 10 % ระบบการศึกษาประเทศนิวซีแลนด์ หลักสูตรการเรียนการสอนในแต่ละโรงเรียนจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแล และอนุมัติหลักสูตรจากกระทรวงศึกษาธิการ และได้รับการรับรองคุณภาพจาก New Zealand Qualification Authority (NZQA) จะแตกต่างจากระบบการศึกษาที่ประเทศไทย โดยที่ประเทศนิวซีแลนด์นักเรียนจะต้องเรียนมัธยมเป็นระยะเวลา 7 ปีการศึกษา (Year 7 – Year 13) มีทั้งที่เป็นของรัฐบาล และ ของเอกชน นักเรียนไทย และ ต่างชาติสามารถเข้าเรียนได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 11 ปีขึ้นไป สำหรับ Year 7 และ ช่วงอายุ 13 ปีขึ้นไป สำหรับ Year 9 ทุกโรงเรียนในประเทศนิวซีแลนด์จึง
มีมาตรฐานเหมือนกันทั้งประเทศ
Year 11 ของโรงเรียน นิวซีแลนด์ นักเรียนต้องเรียนให้ผ่านวิชาระดับพื้นฐานซึ่งจะอยู่ในระบบ National Certificate Education Academic (NECA) ใน NCEA-Level 1 ประกอบด้วย วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาควิทยาศาตร์และ วิชาอื่นๆ นักเรียนจะต้องเรียนวิชาทั้งหมดประมาณ 6 วิชา
Year 12 ของโรงเรียน นิวซีแลนด์ นักเรียนจะเรียนในวิชา NCEA-Level 2 เรียน 6 วิชา และมีวิชาเลือกอื่นๆ ให้นักเรียนลงเรียนได้นอกจากวิชาพื้นฐานทั่วไป นักเรียนไทยที่ต้องการกลับมาเรียนต่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ต้องเรียนจบ Year 12 และสอบผ่าน NCEA-Level 2
Year 13 ของโรงเรียน นิวซีแลนด์ นักเรียนจะเรียนในวิชา NCEA-Level 3 เรียน 6 วิชา ซึ่งนักเรียนควรเลือกวิชาที่สอดคล้อง กับสาขาวิชาที่สนใจศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
1 ปีการศึกษานั้นจะแบ่งเป็น 4 เทอม เรียนประมาณ 10-11 สัปดาห์ ปิดเทอมสั้นๆ ระหว่างเทอมครั้งละ 2 สัปดาห์ เช่น เปิด กลางมกราคม ปิดกลางเมษายน ปิดเทอมสั้นระหว่าง 15-30เมษายน
แต่ละ โรงเรียนสามารถ จัด หลักสูตร การเรียนการสอนเองได้ แต่ต้องผ่านการรับรองจาก New Zealand Qualification Authority (NZQA) ดังนั้น ผู้ปกครอง จึงไม่ต้องกังวลเลยว่าหลักสูตรและมาตรฐาน การศึกษาจะไม่มี คุณภาพ หลักสูตรส่วนใหญ่ในระดับ มัธยมศึกษา ของนิวซีแลนด์ จะมีวัตถุประสงค์ใกล้เคียงกัน หรือในทิศทางเดียวกันคือ เน้นสำหรับนักเรียนระดับมัธยม ศึกษาตอน ปลายเพื่อเตรียมความพร้อมแก่นักเรียนในการ สอบให้ได้ประกาศนียบัตร ตามที่รัฐบาล พร้อมจัดทีพักเมื่ออยู่ที่นิวซีแลนด์
โดยมีระบบการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ
1. ระบบภาคเรียน (semester) ของนิวซีแลนด์ มี 2 ภาคการศึกษาคือ
ภาคเรียน1. เดือนกุมภาพันธ์ - มิถุนายน
ภาคเรียน2. เดือน กรกฏาคม – พฤศจิกายน
2. ระบบเทอม (Quater )ของนิวซีแลนด์ มี 4 ภาคการศึกษา คือ
เทอม 1 กุมภาพันธ์ - เมษายน,
เทอม 2 เมษายน - มิถุนายน,
เทอม 3 กรกฎาคม - กันยายน,
เทอม 4 ตุลาคม -ธันวาคม โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา
สถาบันโพลีเทคนิคและสถาบันเทคโนโลยี
(Polytechnics and Institute of Technology)
สถาบันอบรม วิชาชีพ หรือ โพลีเทคนิค ที่เน้นหลักสูตรการอบรมสายวิชาชีพ อุตสาหกรรม ธุรกิจ และการพาณิชย์ และเน้นด้านการปฏิบัติเพื่อนำไปใช้งานจริง สถาบันโพลีเทคนิคในประเทศนิวซีแลนด์มีประมาณ 25 แห่ง กระจายอยู่ในเกาะเหนือ 18 แห่ง และเกาะใต้อีก 7 แห่ง โดยสถาบันการศึกษาเหล่านี้จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ประเภทและระดับของหลักสูตรโพลีเทคนิคและสถาบันเทคโนโลยี มีดังนี้ คือ
1. ประกาศนียบัตร (Certificates
2. อนุปริญญา (Diploma)
3. ปริญญาตรี (Bachelor's Degree)
4. ปริญญาโท (Master's Degree)
สถาบันสอนภาษานิวซีแลนด์ (English Language Institutions)
General English/ Intensive English Course
English for Academic Purposes: EAP
Business English Course
English plus Activities Course
ระดับมหาวิทยาลัยนิวซีแลนด์ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
นิวซีแลนด์มี มหาวิทยาลัยทั้งหมด 8 แห่ง ซึ่งล้วนเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาลทั้งสิ้น มหาวิทยาลัยเหล่านี้ กระจายอยู่ตาม เมืองใหญ่ทั่วประเทศ โดยอยู่ที่เกาะเหนือ 5 แห่ง และเกาะใต้ 3 แห่ง โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีระบบตรวจสอบคุณภาพ การศึกษาของตนเอง และ ได้รับการตรวจสอบ จากส่วนกลาง ในส่วนของหลักสูตรและนโยบายของมหาวิทยาลัย หลักสูตรที่ เปิดสอนมีมากมายหลายสาขาเช่น พาณิชยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี เกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ทุกมหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์เปิดสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก นอกเหนือจากนั้น ยังเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรระดับต่าง ๆ ในบางสาขา รวมทั้งหลัก สูตรเกียรตินิยม และหลักสูตร 2 ปริญญาบัตร
ค่าธรรมเนียมและค่าครองชีพ
โรงเรียนมัธยมในเซาท์แลนด์
โรงเรียนมัธยมในเซาท์แลนด์ได้กำหนดโครงสร้าง ค่าธรรมเนียมสำหรับปี 2013 และ 2014 | |
---|---|
ค่าเล่าเรียน | NZD13,000 ต่อปี หรือ NZD7,500 ปิสำหรับ 6 เดือน |
ค่าที่พักโฮมสเตย์ | NZD240 ต่อสัปดาห์ในปี 2013 |
ค่าจัดหาบริการโฮมสเตย์ | NZD300 (ในกรณีที่นักเรียนพักอยู่ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป) |
เงินทุนฉุกเฉิน | NZD500 (ไม่รวมค่าธรรมเนียมการอสบ NZQA) |
ค่าประกัน | NZD500 |
ค่าเครื่องแบบ | NZD800 - NZD900 |
ค่าธรรมเนียมการสอบ | NZD385 |
เงินติดกระเป๋า | NZD20 - NZD30 (ไม่บังคับ) |
ค่าธรรมเนียมการสอบ IELTS | NZD400 (ไม่บังคับ) |
ค่าครองชีพต่อวันในเซาท์แลนด์
ตารางด้านล่างให้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางเกี่ยวกับค่าครองชีพในเซาท์แลนด์สิ่งอุปโภคอุปโภค เหรียญนิวซีแลนด์ (2014)
ค่าครองชีพในเซาท์แลนด์ สิ่งอุปโภคอุปโภค เหรียญ นิวซีแลนด์ | |
---|---|
กาแฟเอสเปรสโซ | NZD3.50 |
ขนมปัง 1 แถว | NZD3.50 |
ไข่ 1 โหล | NZD3.50 |
ข้าว 1 กิโลกรัม | NZD2.00 |
เนยแข็ง 1 กิโลกรัม | NZD8.50 |
โคคาโคล่า 1 ประป๋อง | NZD1.20 |
แม็คโดนัลด์ บิ๊กแม็ค 1 ชั้น | NZD3.95 |
เนยสด | NZD2.20 |
นมสด | NZD4.00 |
หนังสือพิพม์ | NZD0.90 |
ซีดี | NZD25.00 |
น้ำมันเชื้อเพลิง (ต่อลิตร) | NZD2.20 |
ค่าตั๋วชมภาพยนตร์ | NZD10.00 |
ระดับ | ค่าเล่าเรียน NZD/Yr |
มัธยมศึกษา และ วิทยาลัยโพลีเทคนิค |
|
ระดับมัธยมศึกษา | 9000 – 17000 |
วิทยาลัยโพลีเทคนิค | 11000 – 16000 |
มหาวิทยาลัย | |
ปริญญาตรี | 15000 – 20000 |
ปริญญาโท/ เอก | 20000 – 23000 |
เรียนภาษาที่นิวซีแลนด |
|
สถาบันสอนภาษาอังกฤษ ค่าเรียนประมาณเดือนละ | 1280 – 1440 |
การขอวีซ่าประเทศนิวซีแลนด์
เนื่องจากโรคระบาด โควิท-19 ศูนย์ยื่นวีซ่าTT ได้ปิดให้บริการเริ่ม31 มีนาคมเป็นต้นไปจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้นจะเปิดทำการจะแจ้งอีกครั้งค่ะ
สำหรับนักเรียนผู้สมัครสามารถยื่นคำร้องขอวีซ่าล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนวันเริ่มเรียน ระยะเวลาในการพิจารณาคำร้องขอวีซ่า ประมาณ 15-25 วันทำการ
ผู้สมัครต้องการศึกษาต่อในประเทศนิวซีแลนด์ น้อยกว่า 3 เดือน ยื่นขอวีซ่าประเภทท่องเที่ยวค่าวีซ่า 5,670 บ. /เกิน 3 เดือนขึ้นไป ยื่นขอวีซ่าประเภทนักเรียน ค่าธรรมเนียมวีซ่า 8,570บ.
ขั้นตอนการขอวีซ่า
1.กรณีไปเรียนระยะเวลาเกิน 6 เดือน ไม่เกิน 12 เดือนไปตรวจวัณโรคและรับการตรวจเอ็กซเรย์ ก่อนยื่นวีซ่า 1-2 เดือน ที่ รพ. ที่ให้บริการ ดังนี้
รายชื่อโรงพยาบาลที่สามารถให้บริการตรวจสุขภาพ
- กรุงเทพมหานคร
- Bangkok Nursing Home (BNH) Hospital 9/1 Convent Road, Silom, Bangkok 10500
- Bangkok Hospital Soi Soonvijai petchburi Road
- เชียงใหม่
- Chiangmai Ram Hospital
ภาคอีสาน
-
- Ek Udorn Hospitat, Udonthani Province
3.เตรียมเอกสารประกอบการยื่นวีซ่า กรอกแบบฟอร์มขอวีซ่า
4.ดำเนินการกรอกคำร้องขอยื่นวีซ่า (บริการโดย ISC)
5.นำเอกสารประกอบการยื่นวีซ่าของผู้สมัคร ยื่นวีซ่าที่ ศูนย์รับยื่นวีซ่าประเทศนิวซีแลนด์ อาคารไอทีเอฟ ชั้น 19 ถ.สีลม บางรัก กทม (บริการโดย ISC)
6.อาจมีการติดต่อขอเอกสารเพิ่มเติม หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม จากเจ้าหน้าที่สถานทูต ทางโทรศัพท์ผู้สมัคร และสถานทูตจะแจ้งให้มารับผลการพิจารณาวีซ่า 15-25 วันทำการ
เอกสารประกอบการยื่นขอวีซ่า
- แบบฟอร์มคำร้องขอยื่นวีซ่า และ Sponsoring a visitor form
- เล่มพาสปอร์ตตัวจริงที่มีอายุใช้งานเกิน 6 เดือน และพาสปอร์ตเล่มเก่าทุกเล่มที่มี พร้อมสำเนาพาสปอร์ต
- รูปถ่าย 2 นิ้ว 2 รูป พื้นหลังสีขาว อายุไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน และสำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
- เอกสารตอบรับจากสถาบันที่สมัครเรียน
- หลักฐานการเรียนและหนังสือรับรองจบการศึกษา : Transcript ปีการศึกษาล่าสุดฉบับจริงพร้อมสำเนา
- หนังสือรับรองการทำงาน ของผู้สมัคร (ถ้ามี) และ Sponsor ผู้รับรองค่าใช้จ่ายในการเรียนทั้งหมด
- หลักฐานการเงิน ของผู้สมัคร (ถ้ามี) และ Sponsor ผู้รับรองค่าใช้จ่ายในการเรียนทั้งหมด
- หนังสือรับรองสถานะทางการเงินจากทางธนาคารเป็นภาษาอังกฤษ ระบุแปลงค่าเงิน เป็นสกุลเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ (NZD)
- สเตทเม้นท์ ย้อนหลัง 6 เดือน หรือ สมุดบัญชีตัวจริง ปรับสมุดบัญชีเป็นยอดเงิน ณ ปัจจุบัน
- สำหรับนักเรียนอายุ 17 ปีขึ้นไป และต้องการศึกษาต่อที่ประเทศนิวซีแลนด์เกิน 2 ปี ต้องขอหนังสือรับรองความประพฤติจากกองบัญชาการตำรวจสันติบาล
- หลักฐานการตรวจวัณโรคจาก โรงพยาบาล
- ค่าธรรมเนียมวีซ่า จ่ายเป็นแคชเชียร์เช็ค 7,720 น้อยกว่า3เดือน5,970 บาท
*** หากถูกปฏิเสธวีซ่า สถานทูตจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมวีซ่าที่ชำระแล้ว ไม่ว่าในกรณีใดๆ ทั้งสิ้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในวันสมัครอีกครั้ง