• หน้าแรก
  • หลักสูตร
    • หลักสูตรภาษาอังกฤษ
    • ประกาศนีบัตร
    • ปริญญาโท
    • ปริญญาตรี
    • หลักสูตร Pathway เข้ามหาวิทยาลัย
    • Work And Study
  • สถาบัน
  • โปรโมชั่น
    • ประเทศอังกฤษ
    • ประเทศอเมริกา
    • ประเทศออสเตรเลีย
    • ประเทศนิวซีแลนด์
    • ประเทศแคนาดา
  • ข่าวและบทความ
    • ข่าว
    • บทความ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
Register
Login
Facebook
Instagram

INTER STUDY CONSULTANT

  • Line ID :

    amp28

  • Tel :

    081-8685606 and 081-8935606

  • Facebook
  • Instagram
  • หน้าแรก
  • หลักสูตร
    • หลักสูตรภาษาอังกฤษ
    • ประกาศนีบัตร
    • ปริญญาโท
    • ปริญญาตรี
    • หลักสูตร Pathway เข้ามหาวิทยาลัย
    • Work And Study
  • สถาบัน
  • โปรโมชั่น
    • ประเทศอังกฤษ
    • ประเทศอเมริกา
    • ประเทศออสเตรเลีย
    • ประเทศนิวซีแลนด์
    • ประเทศแคนาดา
  • ข่าวและบทความ
    • ข่าว
    • บทความ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
เข้าสู่ระบบ
ตกลง
ยกเลิก
ลืมรหัสผ่าน
ลืมรหัสผ่าน
ตกลง
ยกเลิก
  1. หน้าแรก
  2. ข้อมูลประเทศ
  3. ข้อมูลแคนาดา

ข้อมูลแคนาดา

ผู้เข้าชม :

4326 คน

  • ข้อมูลแคนาดา
  • ข้อมูลการเรียนต่อ
  • ค่าใช้จ่าย
  • ข้อมูลสถาบัน
  • วิธีการขอวีซ่า
     แคนาดา เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือพระราชินีอลิซาเบธที่สองเป็นกษัตริย์ ( หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับของสหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง แม้จะเป็นบุคคลเดียวกัน โดยมงกุฎและบัลลังก์นั้นใช้คนละแบบ ไม่ได้ใช้ร่วมกัน )

การแบ่งเขตการปกครอง แคนาดาเป็นสหพันธรัฐที่ประกอบด้วย 10 รัฐ (provinces ) และ 3 ดินแดน ( territories ) ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างรัฐกับดินแดนคือ รัฐของแคนาดาได้รับมอบอำนาจจากบทบัญญัติในกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยตรง ขณะที่ดินแดนของแคนาดาจัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายของสหพันธรัฐ ดังนั้น รัฐบาลสหพันธ์จึงมีอำนาจโดยตรงในการควบคุมดูแลดินแดน ส่วนรัฐบาลของรัฐนั้นจะมีอำนาจและสิทธิในการปกครองตนเองมากกว่า 
 

รัฐและดินแดนของแคนาดามีรายชื่อดังต่อไปนี้ 

  1. แอลเบอร์ตา 
  2. บริติชโคลัมเบีย 
  3. แมนิโทบา 
  4. นิวบรันสวิก 
  5. นิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ 
  6. โนวาสโกเชีย 
  7. ออนแทรีโอ 
  8. ปรินซ์เอดเวิร์ดไอแลนด์ 
  9. ควิเบก 
  10. ซัสแคตเชวัน 

ดินแดน

  1. นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ 
  2. นนาวต 
  3. ยูคอน 

รูปแบบการปกครอง

แบบสหพันธรัฐประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา และเป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ แคนาดาจัดเป็นสหพันธรัฐ ซึ่งหมายความว่า อำนาจการบริหารจะมีการจัดสรรให้รัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละมณฑลและเขตปกครองสามารถปกครองตนเองได้
 

ผู้นำรัฐบาล

นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งเป็นองค์พระประมุข ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการเป็นผู้แทนพระองค์ 
 

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้ง ทิศเหนือจรดมหาสมุทรอาร์กติก ทิศใต้จรดสหรัฐอเมริกา ทิศตะวันออกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก และรัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกา พื้นที่ 9,976,140 ตารางกิโลเมตร ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก เมืองหลวง กรุงออตตาวา
 

สภาพภูมิอากาศ 

สภาพอากาศของแคนาดามีความหลากหลายตั้งแต่ขั้วโลกเหนือที่หนาวเย็นเป็นน้ำแข็งที่เส้นรุ้งที่70 ไปจนถึงแนวป่าอันเขียวขจีของแถบชายฝั่งตะวันตกของบริติชโคลัมเบีย อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว แคนาดามีฤดูกาลที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัด 4 ฤดูโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแถบภูมิภาคใกล้ชายแดนสหรัฐอเมริกา ที่มีผู้คนอยู่อย่างหนาแน่น อุณหภูมิในช่วงกลางวันของฤดูร้อนอยู่ในช่วง 35องศาเซลเซียส หรือร้อนกว่านั้น ในขณะที่อุณหภูมิต่ำสุดในฤดูหนาวอาจติดลบถึง 25องศาเซลเซียส สำหรับอุณหภูมิในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และใบไม้ร่วงจะอยู่ในระดับปานกลาง 

หลายปีที่ผ่านมา ชาวแคนาเดียนได้ปรับตัวอย่างมากให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่มีสภาพอากาศอันหนาวเหน็บ โดยการติดตั้งเครื่องทำความร้อนในที่อยู่อาศัยและยานพาหนะ รวมถึงระบบขนส่งมวลชน ที่มีการติดตั้ง ระบบความร้อนเช่นเดียวกับที่ทางเดินระหว่างอาคารในสถานศึกษา 
 

เศรษฐกิจ

แคนาดาเป็นประเทศเดียวในกลุ่มจี 8 ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญเนื่องจากแคนาดาเป็นประเทศที่มีมาตรการการค้าที่เสรีและโปร่งใสมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก แคนาดาเป็นประเทศที่พึ่งพิงการค้ากับต่างประเทศเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนการค้าต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ( GDP ) ถึงร้อยละ 45 สำหรับการส่งออก และร้อยละ 40 สำหรับการนำเข้า รูปแบบการค้าและการลงทุนของแคนาดาจะพึ่งพิงกับสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก ทั้งสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่สุดระหว่างกันทั้งการนำเข้าและการส่งออก อีกทั้งยังมีการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ( North American Free Trade Agreement: NAFTA ) ซึ่งยิ่งช่วยเสริมมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศให้มากยิ่งขึ้น 

แคนาดาเป็นประเทศเดียวในกลุ่มจี 8 ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญเนื่องจากแคนาดาเป็นประเทศที่มีมาตรการการค้าที่เสรีและโปร่งใสมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก แคนาดาเป็นประเทศที่พึ่งพิงการค้ากับต่างประเทศเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนการค้าต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (
สำหรับระบบภาษีนำเข้าของแคนาดาประมาณ ร้อยละ 90 เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 อีกทั้งยังให้สิทธิพิเศษแก่สินค้าที่นำเข้าจากประเทศด้อยพัฒนา ยกเว้นในสินค้าประเภทนม สัตว์ปีกและไข่
  
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แก๊สธรรมชาติ ทองคำ ถ่านหิน เหล็ก นิกเกิล โพแทช ยูเรเนียม สังกะสี รวมทั้งป่าไม้

สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สินแร่ เครื่องยนต์ รถยนต์ กระดาษ ไม้เนื้ออ่อน พลังงานปิโตรเลียมดิบ แก๊สธรรมชาติ ไฟฟ้า อะลูมิเนียม อุปกรณ์สื่อสาร ชิ้นส่วนอากาศยาน ระบบคอมพิวเตอร์

สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักร น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ เครื่องยนต์ สินค้าอุปโภคบริโภค อาหาร

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เม็กซิโก และเยอรมนี

ภาคการบริการเป็นภาคกิจการที่สำคัญที่สุดของแคนาดา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของภาคเศรษฐกิจของประเทศ ธนาคารชั้นนำของแคนาดา 6 แห่ง เป็นหนึ่งใน 100 ธนาคารชั้นนำของโลก และมีสาขาอยู่ในต่างประเทศทั่วโลกกว่า 60 ประเทศ รวมถึงธนาคารโนวาสโกเชีย ซึ่งมีสาขาอยู่ในไทยด้วย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม ทำให้แคนาดาสามารถพัฒนาความก้าวหน้าในภาคกิจการนี้เป็นอย่างมาก

อุตสาหกรรมที่สำคัญของแคนาดา ได้แก่ อุตสาหกรรมป่าไม้ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสารและคมนาคม เหมืองแร่ และพลังงาน
 

ประชากร

32.14 ล้านคน (เมษายน 2548) 
 

วัฒนธรรม

สังคมของแคนาดาเป็นสังคมที่มีส่วนผสมของชนชาติต่าง ๆ มากมาย โดยชนชาติที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากที่สุด ระหว่างปี พ.ศ. 2534 - 2543 คือคนจากเอเชีย ( จีน อินเดีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ อิหร่าน ) ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 59.5 ของคนเข้าเมืองเพื่อตั้งถิ่นฐานในแคนาดา

โดยในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) รัฐสภาแคนาดาได้ออกกฎหมายคนเข้าเมืองตามข้อเสนอของพรรคอนุรักษ์นิยม ซึ่งยังคงมีผลบังคับใช้จนทุกวันนี้ สาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าวคือการยกเลิกการเลือกปฏิบัติ ( ก่อนหน้านี้ มีการออกกฎหมายปี พ.ศ. 2430 ( ค.ศ. 1887 ) เพื่อกีดกันการเข้าเมืองของคนจีน และต่อมาปี ค.ศ. 1910 ได้ออกกฎหมายที่ใช้หลักการแหล่งกำเนิด แบ่งเป็น preferred ซึ่งคือ กลุ่มคนยุโรป และ non-preferred ได้แก่ กลุ่มที่ไม่ใช่ยุโรป ) กล่าวคือ การเปิดรับคนเข้าเมืองจากทุกที่อย่างเป็นทางการทั่วไป และการใช้วิธีการคิดคะแนนประเมินน้ำหนัก ( point system ) ว่าสมควรรับผู้ใดเข้าไปตั้งถิ่นฐานในแคนาดา

ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า แคนาดามองเรื่องการรับคนเข้าไปตั้งถิ่นฐานอย่างเป็นการถาวร เพื่อเป็นฐานการเก็บภาษีให้แก่รัฐบาลกลางและรัฐบาลของรัฐ สังคมของแคนาดาเป็นสังคมที่มีส่วนผสมของชนชาติต่าง ๆ มากมาย โดยชนชาติที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากที่สุด ระหว่างปี - คือคนจากเอเชีย ( จีน อินเดีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ อิหร่าน ) ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 59.5 ของคนเข้าเมืองเพื่อตั้งถิ่นฐานในแคนาดา
 
ค่านิยมหลักของสังคมแคนาดาที่ฝังลึกในทุกคนคือ การส่งเสริมและเคารพในสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์ ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานสำคัญที่สุดของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สังคมแคนาดาจะสนใจอย่างยิ่งต่อพัฒนาการในประเทศที่มีระบอบการปกครองที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
 
     แคนาดาเป็นประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาสูง โดยให้ความสำคัญต่อการศึกษามาก และมีสถานศึกษาชั้นหนึ่ง แคนาดาใช้จ่ายเงินต่อคนในด้านการศึกษามากกว่าประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม G - 7 และเป็นประเทศอันดับที่ 3 ที่เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจและพัฒนา ( โออีซีดี ) ปริญญาจากมหาวิทยาลัยในแคนาดาเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับสากล และนักศึกษาต่างชาติที่จบการศึกษา จากมหาวิทยาลัยของแคนาดา  มักจะประสบความสำเร็จและความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน 
 

ระบบการศึกษาแคนาดา

ระบบการศึกษาของแคนาดาประกอบด้วยสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมหาวิทยาลัย ภายใต้รัฐธรรมนูญของแคนาดา การศึกษาถือว่าเป็นความรับผิดชอบของมณฑล เพราะฉะนั้น ระบบการศึกษาของแต่ละมณฑล จะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม การศึกษาของประเทศแคนาดา จัดว่ามีมาตรฐานการศึกษาที่สูง 
 

ระดับมัธยมศึกษา

ในระดับมัธยมศึกษานั้นจะมีถึงเกรด 12 ยกเว้นในรัฐควิเบค และรัฐออนตาริโอ ซึ่งอาจจะมีถึงเกรด 13 แต่สำหรับนักเรียน ซึ่งเรียนจบในระดับชั้นเกรด 13 เมื่อเข้าเรียนในระดับปริญญาตรีก็จะใช้เวลาศึกษาเพียง 3 ปีเท่านั้น สำหรับหลักสูตรของรัฐอื่นๆ จะใช้เวลาในการเรียนระดับปริญญาตรี 4 ปี

นอกจากนี้ในรัฐควิเบค ยังมีระบบการศึกษาอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า ซีเจ็ป(Cegep) ซึ่งเป็นชื่อย่อของวิทยาลัยเพื่อการศึกษาทั่วไป และวิชาชีพ เป็นรูปแบบการศึกษาซึ่งอยู่ระหว่างระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา การศึกษาในระดับนี้จะรับผู้เรียนจบม. 5 (เกรด 12) เพื่อเข้าเรียนวิชาชีพเป็นเวลา 2 ปี โดยใช้ผลสอบสมัครเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย
 

วิทยาลัย (University College)

หลักสูตรการเรียนการสอนจะใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัย แต่จะเน้นด้านภาคปฏิบัติ ใช้เวลาเรียนประมาณ 1 - 3 ปี โดยมีจุดประสงค์ที่จะผลิตนักศึกษาเพื่อออกสู่ตลาดแรงงาน ให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรเทียบเท่าอนุปริญญา ซึ่งนักศึกษาสามารถใช้โอนเข้าศึกษาต่อยังระดับมหาวิทยาลัยได้
 

วิทยาลัยอาชีวะ (Community College)

เปิดสอนหลักสูตรทางด้านวิชาชีพและทางด้านเทคนิค โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษาประมาณ 2- 3 ปี ครอบคลุมทักษะวิชาชีพที่สำคัญๆ เช่น ก่อสร้าง, การพาณิชย์, อุตสาหกรรมและการบริการ เป็นต้น
 

วิทยาลัยฝึกอาชีพ (Career College)

เป็นวิทยาลัยเอกชนซึ่งเปิดหลักสูตรอบรมวิชาชีพในสาขาอาชีพต่างๆ เช่น เลขานุการคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
 

การศึกษาภาคปฏิบัติ (Co - op Education)

การศึกษาภาคปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษา โดยทางสถาบันการศึกษาดำเนินการร่วมมือกับภาคธุรกิจ เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานจริง โดยมีระยะเวลาในการฝึกงานประมาณ 2 ภาคการศึกษาก่อนที่จะสำเร็จการศึกษา
 

สถาบันสอนภาษาอังกฤษ (English Language Institutions)

เนื่องจากแคนาดามีภาษาราชการ 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส จึงมีโรงเรียนซึ่งสอนทั้ง 2 ภาษา สำหรับนักศึกษา ต่างชาติอยู่มากมายเรียกว่า English as a Second Language (ESL) ซึ่งสอนภาษาอังกฤษ และ French as a Second Language (FSL) ซึ่งสอนภาษาฝรั่งเศส โรงเรียนเหล่านี้กระจายอยู่ตามเมืองใหญ่ๆทั่วแคนาดา ซึ่งจะมีสอนทั้งหลักสูตรธรรมดา และหลักสูตรเฉพาะ เช่น ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาต่อ (Academic Purpose) เป็นต้น

นอกจากนี้ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยทั่วไปๆก็เปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษ (ESL) และ ภาษาฝรั่งเศส (FSL) เช่นเดียวกัน สำหรับนัก ศึกษาต่างชาตินั้นไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ทั้งสองภาษาก็ได้ เนื่องจากมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จะใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
 

หลักสูตรปริญญาตรี

  1. หลักสูตรปริญญาตรีใช้ระยะเวลาในการศึกษาประมาณ 3 - 5 ปี และบางมหาวิทยาลัยจะมีปริญญาตรี 2 ประเภท คือ
  2. ปริญญาตรีแบบทั่วไป (Ordinary Degree) ซึ่งจะใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 3 ปี 
  3. ปริญญาตรีแบบเกียรตินิยม (Honours Degree) ซึ่งจะมีจำนวนหน่วยกิตมากกว่าแบบ Ordinary Degree และจะต้องเขียนวิทยานิพนธ์ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท  

หลักสูตรปริญญาโท

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาประมาณ 1 ปีครึ่ง - 2 ปี ขึ้นอยู่กับสถาบันและวิชาพื้นฐานของแต่ละหลักสูตร ที่จะต้องเรียนหรือต้องสอบ

 

หลักสูตรปริญญาเอก

ใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 2 ปีหลังปริญญาโท หรือ 3 ปีหลังปริญญาตรีแบบเกียรตินิยม (Honour Degree) แต่โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาประมาณ 3 - 5 ปี หลังจากจบปริญญาโท โดยเป็น Coursework ประมาณ 2 ปี ที่เหลือเป็นการค้นคว้างานวิจัย การเสนอรายงานเชิงวิชาการ และการเขียนวิทยานิพนธ์

รายการค่าใช้จ่ายพอสังเขป สำหรับการครองชีพในแคนาดา:
• ค่ารถประจำทางเที่ยวเดียว (ในท้องถิ่น) $2.00 - $3.00
• ค่าโทรศัพท์ภายในท้องถิ่น $0.25 
• ค่าอาหารในร้านอาหาร เฉลี่ยคนละ $10.00 - 25.00 /คน
• ค่าบัตรชมภาพยนตร์ $8.50 - $12.00
• ค่าส่งจดหมายภายในประเทศแคนาดา $0.52
• ค่าไปรษณียากรระหว่างประเทศ (จดหมาย) $1.55

ภาษี
บางมณฑลได้ใช้ระบบการจัดเก็บภาษีของมณฑลในการซื้อขายสินค้าและการบริการต่างๆ แต่ทุกมณฑลจะ ต้องใช้ระบบการจัดเก็บภาษีของสหพันธรัฐในการซื้อขายสินค้าและการบริการ (GST) ซึ่งอยู่ในอัตราร้อยละ 6 ของมูลค่าการซื้อทุกครั้ง นักท่องเที่ยวจะสามารถขอรับเงินภาษีจากการซื้อสินค้าและบริการ (GST) คืนได้บางส่วน เมื่อท่านเดินทางออกนอกประเทศแคนาดา โดยมีข้อกำหนดว่าท่านต้องยื่นเรื่องขอรับเงินภาษีคืน และต้องแนบใบเสร็จตัวจริงไปด้วย ส่วนข้อมูลเพิ่มเติมนั้น กรุณาติดต่อที่ กรมสรรพากรของแคนาดา หรือที่สถาบันการศึกษาของท่าน โดยแบบฟอร์มการขอรับเงินภาษี GST คืน จะขอรับได้ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ในสนามบิน และที่ห้างสรรสินค้าส่วนใหญ่


สกุลเงินและมาตรการวัด
แคนาดาใช้ระบเมตริกเป็นมาตรฐานในการวัดหน่วยสกุลเงินที่ใช้เป็นดอลลาร์ ซึ่งเท่ากับ 100 เซนต์ สำหรับธนบัตรที่ใช้กันทั่วไปในแคนาดาได้แก่ธนบัตรเงินมูลค่า $5, $10, $20, $50 และ $100 เป็นหลัก ส่วนเหรียญจะมีค่าเท่ากับ 1 เซนต์ (เพนนี) 5 เซนต์ (นิเกิล) 10 เซนต์ (ดิม) 25 เซนต์ (ควอเตอร์) $1 (ลูนนี่) และ $2 (ทวูนนี่) เหรียญราคา 1 และ 2 ดอลลาร์ออกใช้เมื่อกว่า 10 ปีที่ก่อนและยังคงมีธนบัตรราคา 1 และ 2 ดอลลาร์ แคนาดาหมุนเวียนอยู่และสามารถชำระหนี้ได้ตามกฏหมาย (นอกจากนี้ยังมีการเก็บสะสมด้วย) ธนบัตรของแคนาดาจะมีเครื่องหมายแสดงชัดเจน และแต่ละใบหลักๆ จะมีสีที่แตกต่างกัน

ธนาคารและการแลกเปลี่ยเงินตรา
ถึงแม้ว่าปกติแล้วธนาคารจะมีการเสนออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่ดีที่สุด ธนาคารบางแห่งจะคิดค่าธรรมเนียมเล็กน้อยสำหรับการแลกเงินหรือเช็คเดินทาง และอัตราแลกเปลี่ยนที่แสดงไว้มักจะไม่รวมภาษี ดังนั้นจึงเป็นการดีที่สุดที่จะแลกเงินเล็กๆน้อยๆ เป็นดอลล่าร์แคนาดาก่อนที่จะเดินทางมา เพราะโดยทั่วไปธนาคารจะเปิดทำการเฉพาะวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ในเวลาทำการ (09:00 น.- 17:00 น.) เท่านั้น ส่วนการแลกเปลี่ยนเงินตราอื่นๆค่อยข้างจะมีค่าใช้จ่ายสูง บรรดาโรงแรมร้านค้า และบู๊ทรับแลกเงินตราที่ให้บริการแลกเปลี่ยเงินตราต่างประเทศจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่สูงสุดอยู่เสมอ หรืออาจคิดค่านายหน้าสูง เมื่อใดก็ตามที่ท่านจะใช้บริการควรสอบถามเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายให้แน่ชัดก่อนที่จะแลกเงินเสมอ
ทุกร้านค้า และธุรกิจต่าง ๆ จะรับสกุลเงินแคนาดา และบางแห่งจะรับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนเงินสกุลอื่นทั้งหมดจะต้องแลกเปลี่ยนก่อน

ธนาคารและเครื่องบริการเงินฝากถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) 
นักศึกษาสามารถใช้บริการจากธนาคารต่าง ๆ และเครื่อง ATM ในแคนาดาได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะพบได้ง่ายในเมืองใหญ่ และจะสะดวกมากกว่าเงินสด และเช็คเดินทาง ปกติแล้ว นักศึกษาสามารถใช้บัตรธนาคารปกติ หรือบัตรเครดิตหลัก ๆ เพื่อถอนเงินสดที่ตู้ ATM ควบคู่กันไป ท่านสามารถเปิดบัญชีกับธนาคารท้องถิ่น และใช้บริการบัตร ATM ควบคู่กันไป นอกจากนี้ ท่านยังสามารถใช้บัตร ATM กับร้านค้าจำนวนมากในแคนาดา เพื่อชำระรายการต่าง ๆ อาทิ เช่น ของชำ และเสื้อผ้าได้
ธนาคารจะเสนอบริการด้านต่าง ๆ ให้กับลูกค้า รวมไปถึงบริการแลกเปลี่ยนเงินตรา ตู้นิรภัยเพื่อเก็บรักาาหนังสือเดินทาง และบัญชีสะสมทรัพย์ ชาวแคนาดาจำนวนมากนิยมใช้เช็คส่วนตัว ที่ธนาคารออกให้ในการชำระค่าบริการต่าง ๆ

เช็คเดินทาง และบัตรเครดิต
เช็คเดินทางจะเป็นรูปแบบของเงินตรา ที่ส่งเสริมให้ใช้ในขณะเดินทาง (ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย) และท่านสามารถซื้อได้ที่ธนาคาร หลัก ๆ ของแคนาดา เช็คเดินทาง สามารถออกแทนได้ง่ายในกรณีที่ถูกขโมย หรือสูญหาย ร้านค้า โรงแรม ภัตตาคาร และสถานที่ท่องเที่ยว ส่วนใหญ่ยินดีรับเช็คเดินทาง และบัตรเครดิตหลัก ๆ
ธนาคารจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนของวันที่ท่านใช้บัตรเครดิต ในการคิดค่าใช้จ่ายของท่าน ซึ่งจะปรากฏอยู่ในใบเสร็จของบัตรเครดิต โดยอัตโนมัติ เมื่อนักศึกษาเดินทางมาถึงแคนาดา ท่านสามารถสมัครบัตรเครดิตได้ อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายจะครบกำหนดชำระในทุก ๆ สิ้นเดือน พร้อมดอกเบี้ยที่คิดจากยอดเงินที่ต้องชำระ
 
???

การขอวีซ่าประเทศแคนาดา

สำหรับวีซ่านักเรียน มี2 ประเภท
-นักเรียนที่ไปเรียนเกิน6เดือนจะได้วีซ่าตามระยะเวลาที่ไปและเกินอีก1เดือน ผู้สมัครสามารถยื่นคำร้องขอวีซ่าล่วงหน้าได้ 4-5 เดือน ก่อนวันเริ่มเรียน ระยะเวลาในการพิจารณาคำร้องขอวีซ่า ประมาณ 8 - 10 สัปดาห์ขึ้นไป ค่าธรรมเนียมวีซ่า 150เหรียญจ่ายออนไลน์ และจ่ายค่าสแกน85เหรียญและค่าบริการที่ศูนย์ยื่น395บาท
-นักรเรียนที่ไปเรียนสั้นๆ1-5 เดือน จะได้วีซ่าชั่วคราว 6 เดือน ระยะเวลาพิจารณา15วันทำการ ค่าธรรมเนียมวีซ่า 100 เหรียญและค่าสแกน85เหรียญและค่าบริการศูนย์ยื่น395บาท

 



ขั้นตอนการขอวีซ่า

  • ดำเนินการสมัครเรียน ชำระมัดจำค่าเล่าเรียนพร้อมค่าธรรมเนียมวีซ่า เพื่อขอเอกสารตอบรับสถาบันที่สมัครเรียน (Official Acceptance Letter)
  • เตรียมเอกสารประกอบการยื่นวีซ่า กรอกแบบฟอร์มขอวีซ่า
  • ดำเนินการกรอกคำร้องขอยื่นวีซ่า (บริการโดย ISC)
  • นำเอกสารประกอบการยื่นวีซ่าของผู้สมัคร ยื่นวีซ่าที่ ศูนย์รับยื่น VFS อาคารเทรนดี้ ชั้น 28 สุขุมวิทซอย 13 นานา  (บริการโดย ISC)
  • สมัครเรียนมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป จะต้องผ่านการตรวจสุขภาพ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะออกแบบฟอร์มสำหรับการตรวจสุขภาพให้ ก็ต่อเมื่อคำร้องของนักเรียนได้ผ่านการพิจารณาแล้ว
รายชื่อโรงพยาบาลและองค์กรที่สามารถให้บริการตรวจสุขภาพออนไลน์ 
Bangkok General Hospital (โรงพยาบาลกรุงเทพ)  2 Soi Soon Vichai 7, New Phetchburi Road, Bangkok – 10310
Bangkok Nursing Home (BNH) Hospital (โรงพยาบาล บีเอ็นเอช)  9/1 Convent Road, Silom, Bangkok 10500
  • ทางสถานทูตจะแจ้งให้มารับผลการพิจารณาวีซ่า 8-10 สัปดาห์ขึ้นไป

เอกสารประกอบการยื่นขอวีซ่า

  • แบบฟอร์มคำร้องขอยื่นวีซ่า IMM 1294 / IMM 5645E
  • เล่มพาสปอร์ตตัวจริงที่มีอายุใช้งานเกิน 6 เดือน และพาสปอร์ตเล่มเก่าทุกเล่มที่มี พร้อมสำเนาพาสปอร์ต
  • รูปถ่าย 2 นิ้ว  สำเนาบัตรประชาชน  ทะเบียนบ้าน  และสำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล  (ถ้ามี)
  • เอกสารตอบรับจากสถาบันที่สมัครเรียน Offical Acceptance Letter
  • หลักฐานการเรียนและหนังสือรับรองจบการศึกษา : Transcript  ปีการศึกษาล่าสุดฉบับจริงพร้อมสำเนา  
  • หนังสือรับรองการทำงาน ของผู้สมัคร (ถ้ามี) และ Sponsor ผู้รับรองค่าใช้จ่ายในการเรียนทั้งหมด
  • หลักฐานการเงิน ของผู้สมัคร (ถ้ามี) และ Sponsor  ผู้รับรองค่าใช้จ่ายในการเรียนทั้งหมด
    • หนังสือรับรองสถานะทางการเงินจากทางธนาคารเป็นภาษาอังกฤษ  ระบุแปลงค่าเงิน เป็นสกุลเงินดอลลาร์แคนาดา (CAD)
    • สเตทเม้นท์ ย้อนหลัง 6 เดือน หรือ สมุดบัญชีตัวจริง ปรับสมุดบัญชีเป็นยอดเงิน ณ ปัจจุบัน
  • สำหรับนักเรียนอายุ 18 ปี ขึ้นไป และต้องการศึกษาต่อในประเทศแคนาดาระยะเวลาเกิน 6 เดือน ขอหนังสือรับรองความประพฤติจากกองบัญชาการตำรวจสันติบาล
  • ค่าธรรมเนียมวีซ่า 

*** หากถูกปฏิเสธวีซ่า สถานทูตจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมวีซ่าที่ชำระแล้ว ไม่ว่าในกรณีใดๆ ทั้งสิ้น

**** เอกสารต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทุกฉบับ 
 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในวันสมัคร

Inter Study Consultant (ISC)
  • หน้าแรก หลักสูตร สถาบัน โปรโมชั่น เกี่ยวกับเรา
  • ข่าวและบทความ ร่วมงานกับเรา ติดต่อเรา

บริษัท อินเตอร์ สตัดดี้ คอนซัลเทน จำกัด

7 อาคารลุมพินี วิลล์ รามคำแหง60/2ซี ซ.รามคำแหง60/1

ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กทม. 10240

  • Tel : 

    +66(0) 8 4077 7004

  • Tel : 

    +66(0) 8 1868 5606

  • Email : Rujira@inter-study.com
  •  
© 2015 Inter Study Consultants Co.,Ltd. Powered by Biz idea