มอลตาเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาตั้งแต่ปี 2344 และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2507 โดยได้รับความช่วยเหลือด้านการป้องกันประเทศและการเงินตามข้อตกลงที่มีกับอังกฤษเป็นระยะเวลา 10 ปี มอลตาเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2507 และยังอยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ อย่างไรก็ดี ในช่วงสงครามเย็น มอลตามีรัฐบาลที่มาจากพรรคแรงงาน นำโดยนาย Dom Mintroff ซึ่งมีแนวทางสังคมนิยม-ชาตินิยม จึงดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (non-alignment) อย่างจริงจัง และได้ขอยกเลิกความตกลงที่ทำไว้กับอังกฤษฉบับปี 2507 และปี 2515 โดยขอทำความตกลงฉบับใหม่ซึ่งมีเนื้อหาที่จะรักษาอธิปไตยของประเทศและเพื่อเป็นหลักประกันว่า มอลตาจะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่จากการที่มีฐานทัพนาโตประจำอยู่ในมอลตา ความตกลงฉบับใหม่มีระยะเวลา 7 ปี (ปี 2515-2522) สาระสำคัญโดยสรุปคืออังกฤษต้องจ่ายค่าเช่าในการคงฐานทัพในมอลตา 14 ล้านปอนด์ต่อปี ต่อมา ในเดือนมีนาคม 2522 รัฐบาลมอลตาได้ขอยกเลิกการต่อสัญญาให้เช่าพื้นที่สำหรับเป็นฐานทัพ ทำให้กองกำลังอังกฤษต้องถอนกำลังออกจากมอลตาตั้งแต่นั้นมา
นอกจากนี้ รัฐบาลมอลตายังมีความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการค้ากับหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา อิตาลี สหภาพโซเวียต จีน กลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออก ลิเบีย ตูนิเซีย และตกลงรับความช่วยเหลือด้านวิชาการจากประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะลิเบีย อีกทั้งได้ลงนามในความตกลงรับรองความเป็นกลางและการร่วมมือทางการค้ากับประเทศต่าง ๆ ผลของการดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดอย่างจริงจังทำให้ในปี 2524 สหภาพโซเวียตและอิตาลีได้ตกลงรับรองความเป็นกลางของมอลตา โดยเฉพาะอิตาลี ได้ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและการเงินแก่มอลตาเป็นระยะเวลา 5 ปี นอกจากนั้น มอลตายังมีความตกลงร่วมกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ในปี 2513 ซึ่งได้ต่ออายุความตกลงมาจนถึงปัจจุบันในเวทีระหว่างประเทศ ปัจจุบัน มอลตาเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญหลายองค์การ อาทิ สหประชาชาติ กลุ่ม 77 IAEA OSCE UNCTAD UNESCO เป็นต้น
มอลตาได้ถอนตัวจากการเป็นสมาชิกกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) ตั้งแต่เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2547 มอลต้าได้เพิ่มบทบาทของตนเองในนโยบาย EU-Mediterranean ซึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้าน การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและกลุ่มประเทศอื่น ๆ มีประเทศโมรอโค อัลจีเรีย ตูนิเซีย อียิป อิสราเอล ปาเลสไตน์ จอร์แดน เลบานอน ซีเรีย และตุรกี
- ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร
- หนึ่งในสถานที่สงบและปลอดภัยที่สุดในโลก
- ใช้ Statement ไม่สูง
- ค่าครองชีพ ถูกกว่า หลายๆประเทศ
- เที่ยวยุโรปได้สบายๆ
- ทำงาน Part-time ได้ 20 ชั่วโมง/สัปดาห์
-ค่าเรียนไม่แพง
สำหรับการไปเรียนที่มอลต้า นักเรียนจะได้วีซ่าประเภทเชงเก้นวีซ่าประเภท D (Visa D) สำหรับเรียนภาษา ซึ่งจะพำนักสูงสุดได้ไม่เกิน 90 วันเช่นเดียวกัน หลังจากนั้น นักเรียนจะต้อง ขอต่อวีซ่า เพื่อเปลี่ยนประเภทเป็น Malta Student Visa ในประเทศมอลต้า เมื่อเริ่มเข้าเดือนที่ 3 ของระยะวีซ่าเชงเก้น สามารถทำางานได้ถูกต้องตามกฎวีซ่า
การไปเรียนระยะสั้นไม่เกิน90วัน นักเรียนจะได้วีซ่าประเภทเชงเก้นวีซ่า (Schengen Visa) สำหรับเรียนภาษา ซึ่งพำนักสูงสุดได้ไม่เกิน 90 วัน
การขอวีซ่าสำหรับการเรียนเกิน 90 วัน (ระยะยาว)
นักเรียนจะได้วีซ่าประเภทเชงเก้นวีซ่า (Schengen Visa) สำหรับเรียนภาษา ซึ่งจะพำนักสูงสุดได้ไม่เกิน 90 วันเช่นเดียวกัน แต่นักเรียนสามารถยื่นขอต่อวีซ่า เปลี่ยนประเภทเป็น Student Visa ได้ภายในประเทศ